ย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัท ต้องทำอย่างไร - DBD กรมพัฒน์ฯ สรรพากร ประกันสังคม

ย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัท ต้องทำอย่างไร - DBD กรมพัฒน์ฯ สรรพากร ประกันสังคม

รับย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัท-รับแก้ไขที่อยู่บริษัท

วิธีแจ้งย้ายที่อยู่บริษัท

เมื่อเปลี่ยนย้ายบริษัทที่อยู่บริษัท บริษัทจะต้องทำเรื่องเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่อยู่ กับ 3 หน่วยงานหลักๆ คือ

  1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. กรมสรรพากร (หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  3. สำนักงานประกันสังคม (หากเป็นนายจ้าง)

    

1. ย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (บอจ.1 , บอจ.4)

การย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแบ่งออก 2 กรณี คือ

1. ย้ายในจังหวัดเดิม

2. ย้ายข้ามจังหวัด

ซึ่งทั้ง 2 กรณี มีขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัทต่างกัน ดังนี้

เปลี่ยนที่อยู่บริษัท-ย้ายที่อยู่บริษัท-กรมพัฒน์DBD

   

1.1 เปลี่ยนที่อยู่บริษัทในจังหวัดเดิม

กรณีย้ายที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน สามารถไปยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ได้เลย

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่คือ

1. ที่ตั้งแห่งใหม่ของสำนักงานแห่งใหญ่ 

2. รหัสประจำบ้าน

   
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัทในจังหวัดเดิม

  1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)
  4. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  5. สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (หากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)
  6. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน 
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) 
  8. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง พร้อมผนึกอากรแสตมป์10 บาท)

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ได้ที่ https://www.dbd.go.th/

ดูตัวอย่างการกรอกคำขอจดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ในจังหวัดเดียวกัน ได้ที่นี่

   

1.2 เปลี่ยนที่อยู่บริษัทไปจังหวัดอื่น / ย้ายข้ามจังหวัด

กรณีย้ายที่อยู่ข้ามจังหวัด  จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) ว่าจะย้ายสำนักงานไปตั้งอยู่จังหวัดใดก่อน แล้วจึงนำมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นไปขอจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) และจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่

  
ขั้นตอนในการย้ายที่อยู่ข้ามจังหวัด สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น  โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราว  และ ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  2. จัดประชุมผู้ถือหุ้น  โดยที่ประชุมมีมติพิเศษด้วยคะแนนเสียงข้างมาก  ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
  3. ยื่นขอจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) และจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัทข้ามจังหวัด

  1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)
  4. หนังสือบริคณห์สนธิ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ชำระค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
  5. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  6. สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (หากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)
  7. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรสตมป์ 10 บาท) 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ได้ที่ https://www.dbd.go.th/

ดูตัวอย่างการกรอกคำขอจดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ข้ามจังหวัด ได้ที่นี่

   

สถานที่จดทะเบียนเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

  • กรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนย้ายที่อยู่ได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขต
  • ต่างจังหวัด  ยื่นจดทะเบียนย้ายที่อยู่ได้ที่  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่บริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
  • ยื่นออนไลน์ ผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนดี

  

2. ย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09)

หากบริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังต้องยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) กับกรมสรรพากรด้วย  โดยการแจ้งย้ายที่อยู่กับกรมสรรพากรประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ด้านล่างนี้ โดยจะต้องแจ้งภายใน 15 วันก่อนการย้าย 

  1. แจ้งย้ายออกจากพื้นที่เดิม
  2. แจ้งย้ายที่อยู่เข้าพื้นที่ใหม่

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่กับกรมสรรพากร 

  1. แบบคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ภ.พ.09 จำนวน 3 ฉบับ
  2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 (เดิม)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ (ใหม่)
  4. สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (หากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)
  5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่
  6. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  7. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน
  8. หนังสือมอบอำนาจ (พร้อมติดอากร 10 บาท) และสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ได้ที่นี่ 

สถานที่ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09)

  • ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทั้งที่เดิม และ ที่ใหม่

    
3. ย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับสำนักงานประกันสังคม

หากบริษัทเป็นนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม จะต้องแจ้งเปลี่ยนย้ายที่อยู่กับสำนักงานประกันสังคมด้วย ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง

   
เอกสารที่ต้องใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่กับสำนักงานประกันสังคม ได้แก่ 

  1. แบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส.6-15)
  2. หนังสือรับรองบริษัท ฉบับที่อยู่ใหม่
  3. แผนที่ตั้งใหม่
  4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง)

ดาวน์โหลดแบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส.6-15) ได้ที่

    

รับจดทะเบียนแก้ไขข้อมูลบริษัท

เพื่อลดความยุ่งยาก ผู้ประกอบการสามารถว่าจ้างให้นักบัญชีดำเนินการเลี่ยนที่อยู่ให้ได้  โดยคลิกที่รูปด้านล่าง เพื่อไปค้นหาสำนักงานบัญชี ในจังหวัดคุณได้เลย #ตัวเลือกมากมาย #ง่าย #ลดเวลาตามหา

รับย้ายเปลี่ยนที่อยู่บริษัท-รับแก้ไขที่อยู่บริษัท

   

สำนักงานบัญชี...เชิญลงประกาศโปรโมทสำนักงานกับเราได้ ฟรี!

คลิกที่นี่ เพื่อดูตัวอย่างหน้ากระกาศ

เปิดสำนักงานบัญชี-หาลูกค้า-รับทำบัญชีที่บ้าน-การตลาดสำนักงานบัญชี

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนอร่อย

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่