สรุป เงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์ประกันสังคม

สรุป เงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์ประกันสังคม

บทความนี้ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์จากประกันสังคม  หากมีข้อมูลอัพเดตใดเพิ่มเติม Accounting Center จะนำมาอัพเดตให้นะคะ 

   

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยาโดยมีรายละเอียดดังนี้

ใครบ้างได้รับเงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์

ต้องอยู่ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา 

   

ธุรกิจที่ได้รับเงินชดเชย ได้แก่

  • 9 หมวดกิจการ ประกอบด้วย
    • 1) ก่อสร้าง
    • 2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
    • 3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
    • 4) กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
    • 5) ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
    • 6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
    • 7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
    • กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
    • 9) ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
  • 5 กิจการของถุงเงิน ประกอบด้วย
    • 1) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
    • 2) ร้าน OTOP
    • 3) ร้านค้าทั่วไป
    • 4) ร้านค้าบริการ
    • 5) กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

ต้องขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบประกันสังคม

หากยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน  ให้ขึ้นทะเบียนภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ

ธุรกิจ-กิจการที่ได้รับเงินเยียวยาล็อคดาวน์

ที่มารูปภาพ: https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/151681

   

รายละเอียดเงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์

เงินเยียวยาประกันสังคมล็อคดาวน์ 10จังหวัดสีแดงเข้ม

มาตรา 33

ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยานายจ้าง

ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33

ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม มาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อรับเงินช่วยเหลือ

   

มาตรา 39 (เคยอยู่มาตรา 33 ต่อมานำส่งประกันสังคมเอง)

  • ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน

  

มาตรา 40 (อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย ไม่มีลูกจ้าง)

  • ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
  • ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/ ภายในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อคน

        

ระยะเวลาในการชดเชยเยียวยา

1 เดือน (อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์)

   

วิธีรับเงินชดเชยเยียวยาจากประกันสังคม

นายจ้างบุคคลธรรมดา และผู้ประกันตนที่ได้รับการเยียวยา จะได้รับเงินเงินช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ ผ่านการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี  

วิธีรับเงินเยียวยาล็อคดาวน์ประกันสังคม

  

วิธีลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 (นายจ้างที่มีลูกจ้าง)

สำหรับนายจ้างนอกระบบที่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการดังนี้ เพื่อรับเงินเยียวยาจากรัฐ

  1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
  2. เลือก “ขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต” กรอกข้อมูลให้ครบ เพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05
  3. ระบบส่งแบบลงทะเบียน (สปส. 1-05) กลับทาง e-mail เพื่อพิมพ์แบบลงทะเบียน แล้วส่งสำนักงานประกันสังคม
  4. ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตราและพยาน 2 ท่าน
  5. สำนักงานประกันสังคมอนุมัติส่ง User-ID ให้ทาง e-mail เพื่อสถานประกอบการสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียน
  6. แจ้งเข้า – แจ้งออก เปลี่ยนแปลงข้อมูลและส่งเงินสมทบประจำเดือน

สอบถามข้อมูล สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มาข้อมูล: รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล

วิธีขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาตรา33

    

วิธีลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 40 (อาชีพอิสระ ไม่มีลูกจ้าง)

วิธีการสมัครขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถสมัครได้ทั้งทางออนไลน์และด้วยตนเอง

  • สมัครออนไลน์ได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/
  • สมัครด้วยตนเองที่ สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ เซเว่นทุกสาขา  ธ.ก.ส. และบิ๊กซี

วิธีการสมัครผู้ประกันตน มาตรา 40 ผ่านออนไลน์ เมื่อเข้าหน้าเว็บ https://www.sso.go.th/section40_regist/ แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนจนเสร็จ ดังนี้

  1. กรอกข้อมูลส่วนตัว
  2. รายละเอียดข้อมูลติดต่อ
  3. เลือกรูปแบบเงินสมทบที่จะต้องจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือน  มี 3 ทางเลือก สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองแตกต่างกัน ซึ่งตั้งแต่เดือนส.ค.64  - ม.ค.65 ผู้ประกันตน ม.40 จ่ายเงินสมบทแค่60%จากยอดปกติ
    1. ทางเลือก 1 จ่ายเดือนละ 70 บาท (ลดเหลือ 42บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิ
    2. ทางเลือก 2 จ่ายเดือนละ 100 บาท (ลดเหลือ 60บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ
    3. ทางเลือก 3 จ่ายเดือนละ 300 บาท (ลดเหลือ 180บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร
  4. เลือกว่าเป็น ข้าราชการบำเหน็จบำนาญหรือไม่ 
  5. เลือกว่าเป็น ข้าราชการบำเหน็จบำนาญหรือไม่
  6. รอ SMS ยืนยันการสมัคร
  7. เมื่อได้รับ SMS แล้ว ให้จ่ายเงินค่าลงทะเบียน ที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น) โลตัส บิ๊กซี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี ธ.ก.ส. ตู้บุญเติม CanPay Shopee Pay หรือจุดบริการที่สัญลักษณ์
  8. เมื่อชำระเงินแล้ว ต้องเก็บหลักฐานการชำระเงินไว้ เนื่องจากสิทธิเป็นผู้ประกันตน มาตรา40 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ชำระเงินเป็นต้นไป

สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนประกันสังคม โทร. 1506

ที่มาข้อมูล: รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล

วิธีขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาตรา40

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี จ้างทำบัญชี

เปิดสำนักงานบัญชี-หาลูกค้า-รับทำบัญชีที่บ้าน-การตลาดสำนักงานบัญชี

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่