ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำรุด-สูญหาย ต้องทำอย่างไร?

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำรุด-สูญหาย ต้องทำอย่างไร?

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) กันก่อนค่ะ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบธุรกิจและมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) ให้เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการในที่ที่เห็นได้ชัดเจนและเปิดเผย 

   

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) คือใบทะเบียน เป็นกระดาษขนาดประมาณ A4 มีลักษณะเป็นลายน้ำสีชมพู โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะใส่กรอบและแขวนอยู่ตามผนังหรือวางตั้งไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการแห่งนั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีข้อมูล สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันทีให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นต้น 

  

เมื่อผู้ประกอบการประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฏหมายตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป  

  

กรณีหากมีสถาประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแห่งเดียว หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง เพื่อให้ผู้ประุกอบการจดทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการนั้นๆเช่นกัน

  

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนอร่อย กะปิยี่ห้อไหนอร่อย

  

การขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากเกิดกรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชำรุด เสียหายในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือสูญหายจากความประมาทเลินเล่อจากเหตุที่ท่านตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ท่านสามารถขอออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ได้ เพียงแค่เตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน ก็สามารถยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่นทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากแต่อย่างไร

  

กรณีที่ทำใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชำรุด เสียหาย หรือสูญหาย  ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนทราบว่าชำรุด เสียหาย หรือสูญหาย โดยท่านสามารถยื่นคำขอได้ที่

  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
  • เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th โดยใช้ Username และ Password เดียวกันกับที่ใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านอินเทอร์เน็ต

  

เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
  2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมสำเนาหรือสำเนา ภ.พ.09 กรณีไม่มีใบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  3. ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
  4. หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตป์ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
  5. อื่นๆ เช่น หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุันส่วนจำกัด

  

ค้นหา สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ยื่นภาษี ใกล้ฉัน

ค้นหา ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัทตรวจสอบบัญชี ใกล้ฉัน

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนดี กะปิยี่ห้อไหนดี

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก มุมสรรพากร โดย คุณธัญญารัตน์ พวงพยอม นักวิชาการสรรพากรชำนาญการ

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ขั้นตอนการขออนุมัติเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ขั้นตอนการขออนุมัติเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

สำคัญ! หากต้องการจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกับกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติจากกรมสรรพากรก่อน การประกอบการค้าที่มีการขายสินค้าจำนวนมา

ภาษีป้ายคืออะไร? ทำความเข้าใจกฎหมายภาษีป้ายอย่างละเอียด

ภาษีป้ายคืออะไร? ทำความเข้าใจกฎหมายภาษีป้ายอย่างละเอียด

ภาษีป้าย คือภาษีที่เรียกเก็บจากป้ายหรือสิ่งแสดงชื่อ ยี่ห้อ สัญลักษณ์ เพื่อการโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นป้ายไฟฟ้า ป้ายบิลบอร์ด ป้ายตั้งพื้น หรือป้ายดิจิทัล โดย

ค่าฉีดวัคซีน COVID-19 ให้พนักงาน ใช้เป็นค่าใช้จ่ายบริษัท ได้หรือไม่

ค่าฉีดวัคซีน COVID-19 ให้พนักงาน ใช้เป็นค่าใช้จ่ายบริษัท ได้หรือไม่

สรุปสั้นๆ บริษัท: ถ้ามีระเบียบบังคับใช้เป็นการทั่วไป ค่าฉีดวัคซีนให้พนักงานใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัทได้ ไม่ใช่รายจ่ายต้องห้าม พนักงาน: ถือ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่