ขั้นตอนการขออนุมัติเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ขั้นตอนการขออนุมัติเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

สำคัญ! หากต้องการจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกับกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติจากกรมสรรพากรก่อน

        

การประกอบการค้าที่มีการขายสินค้าจำนวนมากมีความถี่ในการขายแต่ละวันมากๆ อาจประสบปัญหากับการเก็บรายละเอียดของการขายสินค้า การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่ไม่ต้องมีภาระในการเขียน หรือพิมพ์ใบกำกับภาษี โดยเฉพาะกิจการค้าปลีกที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่บุคคลจำนวนมาก อีกยังง่ายต่อการควบคุมและการตรวจสอบด้วยโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการค้าปลีก หากประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติจากกรมสรรพากรก่อน

  

ขั้นตอนในการขออนุมัติการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้เรื่องบันทึกการเก็บเงินส่วนใหญ่ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านค้า ทองรูประพรรณ  ตัวแทนรับชำระเงิน ร้านค้าย่อยที่ตั้งอยู่ภายในห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ หรือผู้ประกอบการอื่นที่ได้รับอนุมคิจากกรรมสรรพากร ซึ่งต้องดำเนินการขออนุมัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  

1. กรอก คำขอ ภ.พ.06 แยกเป็นรายสถานประกอบการ  พร้อมแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคำขออนุมัติ

  (1) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

  (2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่อง (Serial Number) และจำนวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ

  (3) แผนผังแสดงตำแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

  (4) ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย

  (5) ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือ การให้บริการประจำวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

  (6) ตัวอย่างใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกัน

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงินได้ที่นี่

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนอร่อย

  

2. ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในท้องที่สถานประกอบตั้งอยู่

กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ต้้งอยู่

แต่หากกรณีเป็นผู้ประกอบการภายใต้การกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

  

3. กรมสรรพากรจะดำเนินการพิจารณาตรวจสอบคำขอพร้อมเอกสารแนบ รวมทั้งตรวจคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงินตัวอย่างใบกำกับภาษีรายงานต่างๆเพื่อประกอบพิจารณา

  

4. ภายหลังการตรวจสอบแล้วเสร็จ กรรมสรรพากรจะแจ้งผลการพิจรารณาคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงินให้ผู้ประกอบการดำเนินการบันทึกเลขรหัสประจำเครื่องที่กรมสรรพากรกำหนดในใบกำกับภาษีสำเนาใบกำกับภาษีและเอกสารทุกแห่งที่ระบุไว้

  

5. ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึก การเก็บเงินเจ้าหน้าที่จะตรวสอบความถูกต้องของเครื่องบันทึกเก็บเงิน และแถบสติเกอร์ไว้ที่เครื่องบันทึกการเก็บเงิน 

  

ขั้นตอนการขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน

  

หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดถือว่ามีความผิดตามมาตรา 90/3 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    

ค้นหา สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ยื่นภาษี ใกล้ฉัน

ค้นหา ผู้สอบบัญชี CPA TA ผู้ตรวจสอบบัญชี รับตรวจสอบบัญชี

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนดี

ที่มา: มุมสรรพากร โดยกรมสรรพากร, https://www.rd.go.th/44309.html , https://www.rd.go.th/3394.html

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่